จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
ค่าบริการ xxxx บาท
(รวมค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมแล้ว)
บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ โครงสร้างของ “บริษัทจำกัด”
- ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 2 คน
- แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
- มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
- ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
- ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ขั้นตอนการจดทะเบียนของเรา
1.ขอใบเสนอราคา
ส่งรายละเอียดงาน และเสนอราคาให้ลูกค้าทราบ
2.ส่งข้อมูลมาให้เรา
ลูกค้าส่งรายละเอียดที่ต้องใช้จดทะเบียนมาให้เรา โดยกรอกแบบฟอร์มตามที่เราส่งให้
3.เราเตรียมเอกสารให้
เราจัดทำชุดเอกสารในการจดทะเบียน และจองชื่อบริษัทให้
4.ส่งเอกสารให้ลูกค้าลงนาม
ลูกค้าลงนามในเอกสารตามที่เราแจ้ง แล้วส่งกลับมาให้ทางเรา
5.ชำระค่าธรรมเนียม
ลูกค้าชำระค่าธรรมเนียมของกรมพัฒฯ
6.ดำเนินการจดทะเบียน
จดทะเบียน คัดสำเนาจัดตั้งบริษัท ตัดหนังสือรับรองบริษัท
7.ชำระค่าบริการ
ชำระค่าจองชื่อ ชำระค่าจดทะเบียน
8.ส่งเอกสารให้ลูกค้า
การจดจัดตั้งเสร็จเรียบร้อย ลูกค้าจะได้รับเอกสารสำคัญในการจัดตั้ง
ปัจจัยสำคัญในการจดทะเบียนที่ต้องใช้
ชื่อบริษัทของท่าน
ต้องนำชื่อที่จองไว้ไป จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดต่อไป แต่ชื่อที่จะจองและนำไปจดทะเบียนนั้นต้องอยู่ภายในหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ด้วย
อำนาจกรรมการ
รูปแบบธุรกิจในลักษณะนิติบุคคล ดังนั้นจึงต้องมีการแต่งตัว ตัวแทนผู้มีอำนาจ ในการจะทำธุรกรรม นิติกรรม แทนตัวของบริษัท ซึ่งผู้มีอำนาจของบริษัทก็คือ กรรมการ นั่นเอง โดยผู้ถือหุ้นจะทำการแต่งตัวกรรมการของบริษัท ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลเดียว หรือ กลุ่มบุคคลก็ได้
สถานที่ตั้งสำนักงาน
นำทะเบียนบ้าน กำหนดสถานที่ตั้ง ซึ่งข้อควรระวังก็คือ อาคารชุด หรือ คอนโดมิเนียม ถึงแม้อาจจะใช้จัดตั้งบริษัทได้ แต่ไม่สามารถใช้จดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่พาณิชย์ของตัวอาคาร
ตราประทับบริษัท
กฎหมายไม่ได้กำหนดบังคับให้ บริษัทจะต้องมีตราประทับ หรือ ตราสำคัญของบริษัท ดังนั้นการจะทำธุรกรรมต่างๆ อาจใช้เพียงแค่การลงลายมือชื่อของ กรรมการบริษัท ตามที่กำหนดไว้เพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ถ้ามีการกำหนดให้บริษัท มีการใช้ตราประทับบริษัท ทุกครั้งที่ทำธุรกรรม นิติกรรม
ทุนจดทะเบียน
เมื่อกำหนดทุนจดทะเบียนได้แล้ว คุณจะต้องกำหนดว่าในจำนวนหุ้นทั้งหมด จะมีผู้ถือหุ้นทั้งหมดกี่คน ใครบ้าง ถือหุ้นคนละจำนวนกี่หุ้น หรือ ถือหุ้นของบริษัทในสัดส่วนคนละร้อยละเท่าไร ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

เอกสาร ที่ต้องใช้ สำหรับการจดทะเบียนบริษัท
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการทุกท่าน
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ก่อการ/ หรือผู้ถือหุ้น ทุกท่าน
- สำเนาบัตรประชาชนของพยาน 2 ท่าน
- สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ (เฉพาะกรณี ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
เอกสาร ที่ใช้สำหรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT registration)
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
- สำเนาใบสำคัญแสดงรายการจดทะเบีียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท
- บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท (หากจดทะเบียนตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2555 ไม่ต้องใช้บัตรผู้เสียภาษี)
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน ถ้ากรรมสิทธิ์ในอาคารเป็นของนิติบุคคล ต้องนำหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นมาด้วย
- แผนที่ตั้งพอสังเขป 2 ชุด (พร้อมรับรองสำเนา)
- รูปถ่ายสถานประกอบการ 2 ชุด (ถ่ายให้เห็นชื่อบริษัทและเลขที่บ้านสถานประกอบการอย่างชัดเจนพร้อมรับรองสำเนา)
- ตราประทับ
- หนังสือขอใช้สิทธิ์แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เอกสารที่ท่านจะได้รับ
- ใบสำคัญการจดทะเบียน
- หนังสือรับรอง พร้อมวัตถุประสงค์
- หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
- รายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
- รับรองตราประทับ (บอจ.3)
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
รับจดทะเบียนเลิกบริษัท และชำระบัญชีบริษัท



ธุรกิจสถานะ "ดำเนินการ"
ธุรกิจยังสามารถดำเนินการทำธุรกรรม นิติกรรมต่างๆ ทางด้านกฎหมายได้ตามปกติ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะมีรายได้รายจ่าย หรือไม่ก็ตาม ธุรกิจสามารถขอ "หนังสือรับรองนิติบุคล" เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า ธุรกิจยังอยู่ในสถานะ "ดำเนินการ" ได้

ธุรกิจสถานะ "เลิก"
ธุรกิจได้จดทะเบียน "เลิกกิจการ" กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเมื่อธุรกิจมีสถานะ "เลิก" มักจะไม่สามารถทำธุรกรรมต่างๆได้อีก ธุรกิจจะได้รับ "หนังสือรับรองการเลิกกิจการ" เพื่อใช้หลักฐานยืนยันให้แก่หน่วยงานราชการ/เอกชน อื่นๆ ต่อไป

ธุรกิจสถานะ "เสร็จการชำระบัญชี"
ธุรกิจที่ได้จดทะเบียน "เลิกกิจการ" และได้จัดการประเด็นค้างคาทางบัญชีแล้ว เช่น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ กำไรสะสม สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ หนี้สินต่างๆ และ ผ่านการตรวจสอบ และได้รับการอนุมัติในการปิดกิจการจากกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะได้รับ "หนังสือรับรองการเลิกกิจการ และเสร็จการชำระบัญชี" ไว้เป็นหลักฐาน
บริการจดทะเบียนบริษัท
ค่าบริการ 3,500 บาท
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท สำหรับเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท
- เราบริการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลง ได้ทั่วประเทศ โดยส่งเจ้าหน้าที่ ไปพบท่าน ณ จังหวัดท่าน ค่าเดินทางคิดเพิ่ม 1,000 บาท
- เราเตรียมเอกสาร ให้ท่านยื่น จดทะเบียนเอง คิดแค่ 2,500 บาท (นาราฯ เตรียมเอกสาร พร้อมยื่นจดทะเบียนให้ท่าน และประสานงานทางโทรศัพท์)
ระยะเวลาในการดำเนินการ ปิดบริษัท ชำระบัญชี
ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการจดทะเบียนปิดกิจการ หากเอกสารครบ วางแผนล่วงหน้า ก็สามารถทำได้เร็ว
ช่วงระยะเวลาที่ 1 : เตรียมจดทะเบียนเลิกกิจการ
นัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวและ ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น ไม่น้อยกว่า 14 วัน [ประกาศให้ผู้ถือหุ้นมาประชุมเพื่อมีมติพิเศษเลิกกิจการ]
เมื่อจัดประชุมผู้ถือหุ้น และหากมีมติไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ก็สามารถยื่นจดทะเบียน “เลิกกิจการ” ได้โดยทันที (ภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติให้ “เลิกกิจการ” จะต้องประกาศ นสพ. 1 ครั้ง และ ส่งหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ทุกราย)
เมื่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอนุมัติคำขอในการ “จดทะเบียนเลิกกิจการ” คุณจะได้รับ “หนังสือรับรองการเลิกกิจการ” เพื่อยืนยันสถานะทางธุรกิจของคุณว่าตอนนี้มีสถานะ “เลิก” เรียบร้อยแล้ว
หากเตรียมตัวมาพร้อมจะใช้เวลาเพียง 14 วัน ในขั้นตอนนี้ แต่ถ้าไม่ก็ควรวางแผน และจัดการให้แล้วเสร็จก่อน เพราะว่า ถ้ารีบจดสถานะเลิก เร็วเกินไป อาจะทำให้ ช่วงระยะเวลาที่ 2 : ระหว่างการชำระบัญชี นานขึ้นมากๆ
ช่วงระยะเวลาที่ 2 : ระหว่างการชำระบัญชี
ช่วงที่ 1 : แจ้งบุคคลภายนอก
# ลงประกาศหนังสือพิมพ์ครั้งที่ 2 ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
1. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
[ประกาศให้บุคคลทั่วไปทราบว่า ธุรกิจได้ทำการ “จดทะเบียนเลิกกิจการ” แล้ว]
2. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
3. แจ้งเลิกกิจการกับกรมสรรพากร (ภพ.09 หรือ ล.ป.10.3) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
ช่วงที่ 2 : ประชุมสรุปภายในเพื่อมีมติพิเศษ เลิกกิจการ
4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ( ณ วันที่ประชุมมีมติพิเศษให้เลิกหรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก)
5. ส่งงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองว่าถูกต้อง
# ลงประกาศหนังสือพิมพ์ครั้งที่ 3 ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
6. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อ อนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก
7. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่ และอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก
ช่วงที่ 3 : ชำระรายการทางบัญชี (ควรทำให้แล้วเสร็จส่วนใหญ่ ก่อนจดเลิกกิจการ)
8. ผู้ชำระบัญชีสะสางทรัพย์สิน และหนี้สินของกิจการ (ถ้ามีทรัพย์สินก็ให้จำหน่าย มีลูกหนี้ให้เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ชำระหนี้สิน และจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีของบริษัท)
9. เมื่อมีเงินคงเหลือก็ให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้น หรือ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
ช่วงที่ 4 : รอสรรพากรอนุมัติ การปิดบริษัท หรือ เสร็จสิ้นการตรวจสอบจากสรรพากร
10. เข้าชี้แจ้งข้อมูลกิจการเพิ่มเติม เมื่อมีการเรียกตรวจสอบจากสรรพากรพื้นที่ (ถ้ามี)
11. รอได้รับเอกสารยืนยันอนุมัติการปิดบริษัทจากกรมสรรพากร
ช่วงที่ 5 : ระยะเวลารอคอย และภาระหน้าที่เพิ่มเติม
12. ระหว่างรอเอกสารอนุมัติจากสรรพากร กิจการยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบทางภาษีทุกเดือน (ถ้ามี)
13. หากไม่สามารถชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันเลิก ต้องยื่นรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ทุก 3 เดือน
14. ถ้าชำระบัญชียังไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ต้องเรียกประชุมใหญ่ในเวลาสิ้นปีทุกปีนับแต่วันที่เริ่มทำการชำระบัญชี (วันเลิก) และต้องทำรายงานยื่นที่ประชุมว่าได้จัดการไปอย่างไรบ้าง และแจ้งให้ทราบความเป็นไปของการชำระบัญชีโดยละเอียด
ช่วงที่ 6 : ยื่นเรื่อง เสร็จการชำระบัญชี
# ลงประกาศหนังสือพิมพ์ครั้งที่ 4 ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
15. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
16. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
17. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี และยื่นจดทะเบียน ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติการชำระบัญชี
18. รับเอกสาร “หนังสือรับรองการเลิกกิจการ และชำระบัญชี” เพื่อเป็นหลักฐานในการปิดกิจการโดยสมบูรณ์
ช่วงระยะเวลาที่ 2 : ระหว่างการชำระบัญชี เป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่สามารถกำหนดความนานได้ เนื่องจากมีปัจจัยภายนอก คือ ระยะเวลาที่ทางสรรพากรจะทำการออกหนังสืออนุมัติให้ (ช่วงที่ 4)
แต่ว่าหากเราเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่ก่อน “จดทะเบียนเลิกกิจการ” ก็จะทำให้ไม่เสียเวลาเพิ่มขึ้นจากการโดยตรวจสอบทางภาษีย้อนหลังจำนวนมากนัก
ระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการได้รับเอกสารจากสรรพากรนั้นมีตั้งแต่ 2 เดือน – 2 ปี ขึ้นกับความซับซ้อนทางธุรกิจ และประเด็นทางภาษีที่ยังค้างคาอยู่ ณ เวลาเลิกกิจการ
ช่วงระยะเวลาที่ 3 : หลังปิดกิจการเรียบร้อย
คุณได้ทำการปิดกิจการสำเร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม คุณยังมีหน้าที่เก็บรักษาสมุดบัญชี และเอกสารของกิจการทั้งหมดตามมาตรา 1271 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นระยะเวลา 10 ปี พร้อมให้นายทะเบียนตรวจสอบได้ทุกเมื่อ

ศูนย์จดทะเบียนพีเอซี
รับจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนพาณิชย์ ขึ้นทะเบียนนายจ้าง จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลบริษัท กรรมการและอำนาจกรรมการ เพิ่มทุน ลดทุน เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงาน เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ เลิกกิจการและชำระบัญชี รวมถึงงานบริการจดทะเบียนบริษัท อื่นๆ ในราคาที่เหมาะสม
- จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
- จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
- จดทะเบียนพาณิชย์
- จดเปลี่ยนแปลงบริษัท
- จดเปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วน
- จดเปลี่ยนแปลงทะเบียนพาณิชย์
- จดทะเบียนเลิกบริษัท
- จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน
- จดเลิกทะเบียนพาณิชย์
- ประกันสังคม
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์
ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 17.30 น.
498/28 ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 19 ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน
แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
Tel : 02-8609053-5 ,090-6603669
Fax : 02-8607382
E-mail : pac_center@hotmail.com
LINE : @848rizig